วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ที่มาของแหลมงอบ

ประวัติความเป็นมาของเทศบาลตำบลแหลมงอบ

     เทศบาลตำบลแหลมงอบเป็นเทศบาลตำบลที่เปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลแหลมงอบ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม  2542  ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบล พ.ศ. 2542 มีเขตการปกครองและการบริหาร มีพื้นที่ 1.2 ตารางกิโลเมตร  ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ หมู่ที่ 1 ตำบลแหลมงอบ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  ฉบับกฤษฎีกา  เล่ม 116 ตอนที่  9 ก  วันที่ 24 กุมภาพันธ์  2542 มีผลบังคับใช้ในวันที่    25 พฤษภาคม 2542 )





อ้างอิง http://www.laemngobcity.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1&Itemid=4

ตำบลแหลมงอบ

การท่องเที่ยวที่แหลมงอบ
อนุสาวรีย์สถานยุทนาวีที่เกาะช้าง
จัดสร้างขึ้นบริเวณชายทะเลแหลมงอบ มีอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ผันพระพักตร์ไปยังบริเวณยุทธนาวีเกาะช้าง องค์ประกอบของบริเวณมีการจัดบริเวณ และอาคารพิพิธภัณฑ์คล้ายเรือรบอนุสาวรีย์เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดตราด และเมืองใกล้เคียง จะมีงานฉลองระหว่างวันที่ 17-21 มกราคม ของทุกปี จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการทำยุทธนาวีของกองทัพเรือไทย



อนุสาวรีย์สถานยุทนาวีที่เกาะช้าง


วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ตำบลแหลม

วิธีการทำงอบใบจาก

 วัสดุเครื่องมือ และ อุปกรณ์                                          

- ใบจาก ใบบาง ๆ ( ไม่แก่ หรือ อ่อนเกินไป )ทางที่ 3– 4 จากยอด
- ด้ายเย็บหมวก เบอร์ 6
- เชือกพลาสติก ( เชือกฟาง ) หรือ เถาวัลย์
- สีเคลือบ สีสเปรย์เคลือบเงา หรือแชลแลคสำเร็จ หรือ วานิช ทินเนอร์
- ขัน หรือ กระป๋อง
- ไม่ไผ่สำมะลอก ยาว 2 เมตร
- คลุ้ม 1 ต้น
- มีดขอ
- มีดบาง
- กรรไกร
- เข็ม
- ที่เย็บกระดาษ
- แปรงทาสี
  ส่วนประกอบของหมวกใบจาก      
- เสวียน
- ดอกจัน
- ตอก
- คลุ้ม หรือ คล้า


                                                     


                          วิธีการทำหมวกใบจาก
1. ใช้ใบจาก ไม่แก่ ไม่อ่อนมาก ประมาณ 24–36 ใบตัดจากริมเข้ามา 3-4 เซนติเมตร ให้มีขนาดยาวเท่ากันทุกใบ แล้วนำมาซ้อนกันให้ปลายใบไปทางเดียวกันวัดขนาดความยาว ½ของใบ เย็บให้ต่ำกว่าขอบ ½ เซนติเมตร ใช้เข็มร้อยด้ายแทง รวมให้ใบยึดติดกัน มัดให้แน่น

2. จับใบจากเรียง เวียนจากใบล่างสุดไปเรื่อย ๆ ครึ่งหนึ่งของใบจากทั้งหมดใบต่อไปจับสอดเข้าไปใต้ใบที่ 1 ใบต่อไปสอดเข้าใบที่ 2 ทำอย่างนี้ไปจนหมด
3. ใช้เถาวัลย์รัดใบไว้ โดยสลับปลายเชือกจะได้ใบจากที่ขึ้นรูปหมวก พร้อมจะเย็บต่อไป
4. ใช้เข็มร้อยด้ายแทงจากจุดศูนย์กลาง ให้ด้ายยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ให้ด้ายเป็นรัศมีใช้ ก้นเข็มขีดใบจากให้เป็นรอยวงกลม เพื่อเป็นรอยเย็บรอบต่อไป ปรับด้ายเพิ่มขึ้นอีก 2 เซนติเมตร แล้วขีดเป็นวงกลม ทำวงกลมไปเรื่อย ๆ จนสุดขอบใบจาก
5. วิธีเย็บมี 2 วิธีคือ
1.เย็บด้ายเส้นเดียวโดยเย็บแบบเนา และ
2. เย็บแบบด้ายคู่โดยเย็บแบบลูกโซ่ การเย็บเริ่มเย็บรอบใกล้จุดศูนย์กลางก่อนรอบต่อไปค่อย ๆ กดให้จากคุ่มลงตามรูปที่ต้องการ ถ้าต้องการใบใหญ่ต้องตัดใบจากมาแซมให้ใบจากยาวขึ้น เมื่อได้ความกว้างของหมวกตามต้องการให้ใช้กรรไกรตัดริมให้เรียบ

                              



         6. นำไม้ไผ่มา      เป็นสันจำนวน4 เส้น เย็บเป็นขอบ และ นำไปผึ่งให้แห้ง7.  ใช้ใบลานมาสานเป็นดอกจัน ติดที่หัวหมวกเพื่อปิดรอยโหว่ และให้ดูสวยงาม       

8. หมวกที่แห้งดีแล้วนำมาทาน้ำมันยางทั้งด้านใน และ ด้านนอก บางคนอาจใช้ยูริเทน 1 ส่วน ผสมกับ ทินเนอร์1 ส่วน ทาเคลือบแทนน้ำมันยาง

                                                           

9. นำมาติดเสวียนโดยหงายหมวกขึ้น วางเสวียนลงตรงกลาง ให้คลุ้มเหลาเป็นเส้นขัดด้านในให้เสวียนติดแน่นกับหมวก ปัจจุบันใช้ด้ายเย็บติดกับหมวก

                                 

โครงงานคอมพิวเตอร์

ข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์
ชื่อโครงงานเว็บบล็อก เรื่อง ตำบลแหลมงอบ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์)
ชื่อผู้ทำโครงงาน
1. เด็กชายกันตชาติ ถนอมวงษ์        เลขที1 ชั้น ม.3/3
2. เด็กชายวรนัฎ สาทพันธ์               เลขที่ 24 ชั้น ม.3/3
3.เด็กหญิง เมธารัตน์ ไกรเรือง        เลขที่27 ชั้น ม.3/3
4.เด็กหญิงลินดา ทิศประทีป             เลขที่29 ชั้น ม.3/3
โรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม จังหวัดตราด
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา             นางศิริรัตน์  นำไทย
ระยะเวลาดำเนินงานภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
1. ที่มา และความสำคัญ
เทคโนโลยีเว็บ เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ในปัจจุบันเว็บบล็อก Weblog เป็นที่นิยมเนื่องจากสร้างได้ง่าย มีประโยชน์ในการเผยแพร่เนื้อหา ข้อมูลข่าวสาร ในรูปของบันทึก ทำให้เข้าถึงผู้ใช้หรือผู้ที่สนใจได้อย่างรวดเร็ว กลุ่มของข้าพเจ้าจึงสนใจจัดทำสื่อเพื่อการศึกษา เรื่อง ตำบลแหลมงอบโดยใช้เว็บบล็อกในการนำเสนอ และเผยแพร่เนื้อหาดังกล่าว
2. วัตถุประสงค์
    2.1 เพื่อพัฒนาเว็บบล็อก เรื่อง ตำบลแหลมงอบ
    2.2 เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่อง ผ่านเว็บบล็อก
    2.3 เพื่อประเมินความพึงพอใจเว็บบล็อก เรื่อง ตำบลแหลมงอบ
3. หลักการและทฤษฎี
   3.1 การนำเสนอผ่านเว็บเพจ
         - เทคโนโลยีเว็บ
         - การออกแบบเว็บเพจ (Web Design)
         - ข้อแนะนำในการสร้างเว็บเพจ
         - ข้อควรระวังในการเขียนเว็บเพจ      
   3.2 เว็บบล็อก Weblog
   3.3 ชุมชน แหลมงอบ
4. ขั้นตอนการดำเนินงาน
    4.1 แบ่งกลุ่ม ประชุม ปรึกษาหารือ เลือกหัวข้อโครงงาน
    4.2ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับโครงงาน
    4.3จัดทำข้อเสนอโครงงาน
    4.4จัดทำเว็บบล็อกเรื่อง สถานที่ท่องเที่ยว 4 ตำบล
    4.5จัดทำรายงาน
    4.6 นำเสนอและเผยแพร่

5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    5.1 เพื่อเผยแพร่ความรู้และส่งเสริมชุมชนและสถานที่ท่องเที่ยวของชุมชน แหลมงอบ ที่อยู่ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
    5.2 เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเนื้อหาในชุมชนแหลมงอบ

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

วันพ่อ



มีความสุขที่สุด ได้ไหว้พ่อ ได้เที่ยวกับครอบครัว อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา ได้จดจำกาลเวลาดีดีที่ได้อยู่กับพ่อ 

วันเด็ก


มีควาสุข ได้เที่ยวกับครอบครัว ได้เจอเพื่อนๆ และได้คติประจำใจที่ดี 


วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

งานบ้าน



งานบ้าน หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตประจำวันในการสร้างความสุขของสมาชิกทุกคนในบ้าน ซึ่งต้องปฏิบัติเป็นประจำ โดยอาศัยความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจจากสมาชิกทุกคนในบ้าน